วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กฎหมาย



กฎหมาย หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ

ความหมายและความสำคัญของกฎหมาย
ความหมายและความสำคัญของกฎหมาย
เรื่องที่ 1.1 ความหมายของกฎหมายกฎหมายนั้นมีความหมายอยู่หลายประการ ซึ่งความหมายจะแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ลักษณะของสังคมที่แตกต่างกัน สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของประชาชนในสังคม นั้น ๆ แต่หลักที่สำคัญและเป็นความหมายของกฎหมายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 ประการ คือ1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่ง 2. กฎหมายถูกกำหนดขึ้นโดยผู้มีอำนาจในสังคม 3. กฎหมายใช้บังคับและเป็นที่ทราบแก่คนทั่วไป 4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน


ความสำคัญของกฎหมาย


มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ เป็นเหล่า ความเจริญของสังคมมนุษย์นั้นยิ่งทำให้สังคมมีความ สลับซับซ้อน ตามสัญชาตญาณของมนุษย์แล้ว ย่อมชอบที่จะกระทำสิ่งใด ๆ ตามใจชอบ ถ้าหากไม่มีการ ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว มนุษย์ก็จะกระทำในสิ่งที่เกินขอบเขต ยิ่งสังคมเจริญขึ้นเพียงใด วามจำเป็น ที่จะต้องมีมาตรฐานในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ที่จะต้องถือว่าเป็นมาตรฐานอันเดียวกันนั้นก็ยิ่งมี มากขึ้น เพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ทุกคนในลักษณะของกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งจะกำหนด วิถีทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย กฎเกณฑ์และข้อบังคับหรือวิธีการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มีการพัฒนา และมีวิวัฒนาการต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากฎหมายไม่มีความจำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรา ในปัจจุบันนี้ กฎหมายได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรามาก ตั้งแต่เราเกิดก็จะต้องแจ้งเกิดเพื่อขอสูติบัตร เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน จะสมรสกันก็ต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะ สมบูรณ์และในระหว่างเป็นสามี ภรรยากันกฎหมายก็ยังเข้ามาเกี่ยวข้องไปถึงวงศาคณาญาติอีกหรือจน ตายก็ต้องมีใบตาย เรียกว่าใบมรณะบัตร และก็ยังมีการจัดการมรดกซึ่งกฎหมายก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอนอกจากนี้ในชีวิตประจำวันของคนเรายังมีความเกี่ยวข้องกับ ผู้อื่น เช่นไปตลาดก็มีการซื้อขายและ ต้องมี กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการซื้อขาย หรือการ ทำงานเป็นลูกจ้าง นายจ้างหรืออาจจะเป็น ข้าราชการก็ต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา และที่เกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมืองก็เช่นกัน ประชาชนมีหน้าที่ต่อบ้านเมืองมากมาย เช่น การปฏิบัติตนตามกฎหมาย หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่รับราชการทหาร สำหรับชาวไทย กฎหมายต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็มีมากมายหลายฉบัย เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา "คนไม่รู้ กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" เป็นหลักที่ว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากความผิด ตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้ ถ้าหากต่างคนต่างอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายที่ทำไปนั้น ตนไม่รู้จริง ๆ เมื่อกล่าวอ้าง อย่างนี้คนทำผิดก็คงจะรอดตัว ไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องรับโทษกัน ก็จะเป็นการปิดหูปิดตาไม่อยากรู้กฎหมาย และถ้าใครรู้กฎหมายก็จะต้องมีความผิด รู้มากผิดมากรู้น้อยผิดน้อย ต่จะอ้างเช่นนี้ไม่ได้เพราะถือว่าเป็น หลักเกณฑ์ของสังคมที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ เรียนรู้กฎหมาย เพื่อขจัดข้อปัญหาการขัดแย้ง ความ ไม่เข้าใจกัน ด้วยวิธีการที่เรียกว่า กฎเกณฑ์อันเดียวกันนั้นก็คือ กฎหมาย นั่นเอง
ประเภทขององค์ประกอบความผิดก. ประเภทขององค์ประกอบพิจารณาจากแง่การกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด๑.องค์ประกอบภายนอกได้แก่ การกระทำและสิ่งต่าง ๆ ที่กฎหมายอาญาบัญญัติว่าเป็นความผิด เท่าที่ปรากฏออกมาภายนอก คือเท่าที่ปรากฏออกมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หลักในการแบ่งแยกองค์ประกอบความผิดแต่ละความผิดนั้น คือ จะต้องตั้งต้นที่ "การกระทำ" ที่กฎหมายบัญญัติไว้เสียก่อนข้อยกเว้นมีในกรณีที่กฎหมายได้กำหนดคุณสมบัติของผู้กระทำด้วย เช่น กำหนดว่าผู้กระทำจะต้องเป็นเจ้าพนักงานจึงจะทำผิดได้๒.องค์ประกอบภายในได้แก่ เป็นเรื่องที่กฎหมายที่กำหนดความผิดได้กำหนดไว้เกี่ยวกับจิตใจของผู้กระทำผิด คือเจตนา มูลเหตุชักจูงใจและประมาทเจตนา (ป.อ.มาตรา ๕๙) เมื่อกฎหมายกำหนดว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว บุคคลนั้นต้องกระทำโดยเจตนาจึงจะมีความผิด เว้นแต่ จะเข้าข้อยกเว้น กล่าวคือ (๑) กฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าเป็นความผิด (๒) ความผิดลหุโทษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ถ้อยคำในตัวบทจะแสดงว่าต้องเจตนาจึงจะเป็นความผิด และ (๓) ความผิดตามพระราชบัญญัติอื่น ซึ่งระบุไว้ชัดแจ้งว่าแม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิดประมาท (ป.อ.มาตรา ๕๙) จะเป็นความผิดต่อเมื่อกฎหมายได้ระบุไว้ในมาตราที่บัญญัติถึงความผิดนั้นว่า การกระทำโดยประมาทมีความผิด ดังนั้น ถ้ามาตราใดในประมวลกฎหมายอาญาไม่มีคำว่า "ประมาท" แล้ว ต้องถือว่าผู้กระทำต้องมีเจตนาธรรมดาจึงจะมีความผิดทั้งนี้ นอกจากข้อยกเว้น อีก ๒ ประการที่ มาตรา ๕๙ บัญญัติไว้ คือ(๑) ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา ซึ่งหมายถึงกฎหมายอื่นนอกจากประมวลกฎหมายอาญา(๒) ข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๔ บัญญัติว่า "การกระทำความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายนี้ แม้กระทำโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด เว้นแต่ ตามบทบัญญัติความผิดนั้นจะมีความบัญญัติให้เห็นเป็นอย่างอื่น"ข.ประเภทขององค์ประกอบพิจารณาจากแง่ลักษณะขององค์ประกอบนั้นเอง๑.องค์ประกอบในทางรับเป็นองค์ประกอบปรกติของความผิด ซึ่งหมายความรวมถึงองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายในด้วย องค์ประกอบในทางรับนี้มิได้มีเฉพาะในเรื่องความผิด แต่มีในเรื่องเหตุเพิ่มโทษและเรื่องอื่น ๆ เช่น เจตนาด้วย๒.องค์ประกอบในทางปฏิเสธหมายความถึง องค์ประกอบที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าถ้าเข้าองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว ก็จะไม่เป็นความผิดตามมาตราที่ระบุไว้ องค์ประกอบในทางปฏิเสธนี้มิใช่มีอยู่เฉพาะในเรื่องความผิดเท่านั้น แม้ในเรื่องอื่นก็มีเหมือนกัน เช่น เรื่องประมาทตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่ซึ่งใช้คำว่า "กระทำโดยประมาท ได้แก่ ความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง..." คำว่า "ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา" ย่อมเป็นองค์ประกอบในทางปฏิเสธ กล่าวคือ ถ้าปรากฏว่าผู้กระทำโดยเจตนา ไม่ว่าจะเป็นเจตนาโดยประสงค์ต่อผลหรือเจตนาโดยย่อมเล็งเห็นผล ย่อมจะเป็นความผิดฐานประมาทไม่ได้เลย๓.องค์ประกอบในทางอธิบายในตัวของมันเองไม่ได้ประกอบเป็นความผิด มันเป็นแต่อธิบายความผิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเท่านั้น เช่นมาตรา ๒๗๗ บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี... โดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษ..." จะเห็นได้ว่า คำว่า "โดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม" นั้นเป็นแต่คำอธิบายเท่านั้น ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีย่อมมีความผิดเสมอ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความยินยอมของเด็กหญิงนั้น
ประเภทของกฏหมาย
การแบ่งประเภทของกฏหมายโดยพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์หรือขอบเขตการใช้กฏหมายมาเป็นแนวทางในการแบ่งประเภท อาจแบ่งกฏหมายได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กฏหมายระหว่างประเทศ
กฏหมายระหว่างประเทศ เป็นกฏหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน เป็นกฏหมายที่เกิดขึ้นจากความตกลงระหว่างรัฐ ซึ่งถือเป็นกติกาในการจัดระเบียบสังคมโลก ตัวอย่างเช่น กฏหมายการประกาศอาณาเขตน่านฟ้า การส่งผู้ร้ายขามแดน และสนธิสัญญาต่างๆ เป็นต้น
2. กฏหมายภายในประเทศ เป็นกฏหมายที่ใช้บังคับภายในรัฐต่อบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในรัฐ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศนั้นๆ หรือบุคคลต่างด้าว กฏหมายภายในประเทศยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ กฏหมายมหาชนและกฏหมายเอกชน
กฏหมายมหาชน หมายถึง กฏหมายที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคู่กรณีด้วยกับเอกชน มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการปกครองรัฐ และควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐจำต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยทั่วไปกฏหมายมหาชนแบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ
รัฐธรรมนูญ เป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย และการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆ
กฏหมายปกครอง เป็นกฏหมายที่ขยายความให้ละเอียดจากรัฐธรรมนูญบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการปฏิบัติการต่างๆ ตามกฏหมาย กำหนดสิทธิของประชาชนในการเกี่ยวพันกับรัฐ
กฏหมายอาญา เป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม วัตถุประสงค์ของกฏหมายเพื่อที่จะให้ความปลอดภัย สร้างความเป็นระเบียบของรัฐและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน
กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฏหมายที่กำหนดรายละเอียดวิธีพิจารณาคดีอาญาทางศาล
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กำหนดว่าในการพิจารณาคดีนั้น ศาลใดจะมีอำนาจในการพิจารณาคดีประเภทใด
กฏหมายเอกชน
เป็นกฏหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับนิติบุคคล และบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่ให้บุคคลสามารถรักษาและป้องกันสิทธิมิให้ถูกละเมิดจากบุคคลอื่น เช่น กฏหมายเกี่ยวกับสัญญา การสมรส มรดก กฏหมายเอกชนแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
กฏหมายแพ่ง เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเอกชน เช่น ความมีสภาพเป็นบุคคล ครอบครัว มรดก นิติกรรม เป็นต้น ซึ่งถ้ามีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของกันและกันแล้ว ไม่กระทบคนส่วนใหญ่ ลักษณะการลงโทษจึงมีเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น
กฏหมายพาณิชย์ เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลที่ประกอบการค้าและธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน การประกัน เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นลักษณะของกฏหมายจึงต่างจากกฏหมายแพ่ง
กฏหมายพิจารณาความแพ่ง เป็นกฏหมายว่าด้วยข้อบังคับที่ใช้ในการดำเนินคดีเมื่อเกิดคดีความทางแพ่ง
สำหรับประเทศไทย ได้รวมกฏหมายแพ่งและกฏหมายพาณิชย์ไว้เป็นฉบับเดียวกัน เรียกว่า ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์







ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
1. รัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3. พระราชบัญญัติ
4. พระราชกำหนด
5. พระราชกฤษฎีกา
6. กฎกระทรวง
7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



1.รัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)
ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้
รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย
ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ
เนื้อหา
1 รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก
2 ดูเพิ่ม
3 อ้างอิง
4 แหล่งข้อมูลอื่น
รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก
ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 ขุนนางและพระราชาคณะจำนวน 25 คน ได้บังคับให้
พระเจ้าจอห์นลงนามในเอกสารที่เรียกว่า "มหากฎบัตร" (The Great Charter, Magna Carta) ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางและพระสงฆ์ โดยในมหากฎบัตรได้กำหนด ถึงการจัดองค์กรและการบริหารอำนาจของสภาสูง (Magnum Concillium) และกำหนดว่าพระมหากษัตริย์จะเก็บภาษีบางอย่างตามที่กำหนดไว้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากสภาสูงมิได้ จะจับกุมคุมขังบุคคลได้ก็ต่อเมื่อ มีคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย มหากฎบัตรนี้ นักกฎหมายบางท่านเห็นว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก
รัฐธรรมนูญใน
สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ในภาษาของประเทศทั้งสอง คำว่ารัฐธรรมนูญต่างใช้คำว่า Constitution ซึ่งแปลว่า การสถาปนา หรือการจัดตั้ง ซึ่งหมายถึงการสถาปนาหรือจัดตั้งรัฐนั่นเอง โดยทั้งสองประเทศมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร
2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย เพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราที่บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญให้มีความยาวมากเกินไป และเพื่อที่จะได้สะดวกแก่การแก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ต้องดำเนินการตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ


ลักษณะของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีลักษณะเหมือนกับพระราชบัญญัติธรรมดาทั่วไป แต่มีหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็นพิเศษบางประการ ดังต่อไปนี้
การเรียกชื่อกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ต้องเรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย... พ.ศ. ...” เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
พ.ศ. 2540
การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะกระทำได้ก็แต่เฉพาะเรื่องที่รัฐธรรมนูญฯ บังคับไว้เท่านั้น จะตราขึ้นเพื่อใช้ในเรื่องอื่น ๆ ดังเช่นพระราชบัญญัติทั่วไปไม่ได้
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นมี 9 ฉบับ ดังต่อไปนี้เท่านั้น ส่วนกฎหมายอื่น ๆ แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้ออกเพื่ออธิบายขยายความเพิ่มเติมได้ แต่รัฐธรรมนูญฯ ก็ไม่ถือว่าเป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา]]
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่รัฐธรรมนูญฯ บังคับไว้ในมาตรา 323 และมาตรา 329 กล่าวคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญลำดับ (1) ถึง (3) ที่จำเป็นต่อการเลือกตั้งทั่วไปต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญลำดับ (4) ถึง (8) ต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน ๒ ปี นับแต่วันที่ประกาศใช้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดที่มีการเสนอต่อรัฐสภา แล้วไม่ว่าโดยทางใดตาม ม.139 ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบในการที่จะให้ออกใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่สามจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในสภา เมื่อสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธยนั้น จะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งศาลรัฐธรรมนูญต้องทำให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
การคัดค้านว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อาจทำได้โดยศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในการลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภา ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติทั่วไป ผู้เข้าชื่อต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาสซึ่งเป็นการแสดงว่ารัฐธรรมนูญต้องการให้การตรวจสอบ และควบคุมดูแลความถูกต้องของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทำได้ง่ายและคล่องตัวกว่าการตรวจสอบกฎหมายธรรมดา
ลักษณะที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติธรรมดา
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากกฎหมายธรรมดาดังนี้
การเรียกชื่อกฎหมาย ต้องเรียก "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย............. พ.ศ....."
การออกหรือตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับแรก จำเป็นต่อการเลือกตั้ง จึงกำหนดกรอบเวลาให้จัดทำแล้วเสร็จภายใน 240 วัน และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอได้โดยไม่ต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดที่มีการเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร หากไม่ได้รับความเห็นชอบ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อมีมติอีกครั้งก็ได้
การคัดค้านว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีความขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ อาจทำได้โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน เข้าเสนอชื่อต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี
ปัญหาเรื่องสถานะของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีมานานแล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคพื้นยุโรป ซึ่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญของไทยมีครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งให้มีพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญรวม 8 ฉบับ ซึ่งปัญหาเรื่องลำดับศักดิ์ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญยังเป็นที่ถกเถียงกันเรื่อยมา เพราะหากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ในทางกฎหมายนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกก็ย่อมทำให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ถูกยกเลิกด้วย แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่คลี่คลายแม้ในช่วงรัฐประหารที่ผ่านมา
ซึ่งจุดที่ชี้ให้เห็นว่าระหว่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญกับ พระราชบัญญัติธรรมดานั้นต่างกัน ใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540กระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเหมือนกับการตราพระราชบัญญัติธรรมดา ทำให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคำวินิจฉัยที่ 3-5/2550 เรื่องยุบพรรคไทยรักไทยวินิจฉัยว่าเมื่อกระบวนการตราพระราชบัญญัติและกระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเหมือนกัน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจึงมีศักดิ์เท่ากฎหมายธรรมดา
ต่อมาในรัฐธรรมนูญปี 2550 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้งหมด 9 ฉบับ โดย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 138 – 141 โดยแก้ไขใหม่ทั้งหมด อันเป็นข้อสังเกตว่าหากผู้ร่างประสงค์จะให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีศักดิ์เท่าพระราชบัญญัติจริง จะไม่มีการแก้ไขในส่วนนี้ แต่เจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เพื่อแก้ปัญหาข้อถกเถียงทั้งหมด เกี่ยวกับลำดับศักดิ์ของรัฐธรรมนูญ
สถานะในปัจจุบันของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ปัจจุบันหลักการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของไทยได้เปลี่ยนไปแล้วเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดกระบวนการ ตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไว้เป็นพิเศษต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 อยู่ 4 ประการ
ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอยู่ใน ม.139 คือ คณะรัฐมนตรี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา หรือ รวมกับส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสองสภา หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือประธานองค์อิสระ ซึ่งต่างจากการตราพระราชบัญญัติธรรมดา คือ
ม.142 ร่างพระราชบัญญัติธรรมดา สมาชิกวุฒิสภาร่วมเสนอร่างด้วยไม่ได้
ม.163 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คน เสนอได้แต่พระราชบัญญัติธรรมดา
ม.139 ศาลธรรมดาทุกศาลสามารถเสนอพระราชบัญญัติธรรมดาได้เท่านั้น
ร่างพระราชบัญญัติธรรมดา ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินจะเสนอได้ต่อเมื่อมีคำรับรองของ นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 142 วรรคสอง แต่ถ้าเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แม้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงินก็เสนอได้โดยที่ไม่ต้องมีคำรับรองของนายก รัฐมนตรี ตาม มาตรา 140
การลงมติให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติธรรมดาใช้คะแนนเสียงข้างมากธรรมดา แปลว่าว่าสภา 400 คน เข้าประชุม 200 เห็นชอบ 101 คนก็ใช้ได้ แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 140 วาระแรกและวาระที่สองใช้เสียงข้างมากธรรมดา แต่วาระที่สามใน 140(2) ต้องใช้คะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ทั้งหมดของแต่ละสภา นั่นแปลว่า ถ้าสภา 400 คนต้องได้ 201 คนไม่ว่าจะเข้าประชุมกี่คนก็ตาม และถึงแม้ผ่านสภาผู้แทนฯมาแล้ว วุฒิสภา 150 คนหากโหวตเห็นชอบแค่ 75 คน ก็อาจทำให้ร่างตกไปได้
ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัตินั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับให้ต้องส่งร่างให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่อาจเสนอให้วินิจฉัยได้ ตามมาตรา 154 แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 141 บังคับให้ส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่สภาเห็นชอบแล้วให้ศาลรัฐ ธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญใน 30 วัน
ด้วยเหตุนี้ จึงเข้าใจว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2550 จึงน่าจะมีศักดิ์ที่สูงกว่าพระราชบัญญัติธรรมดา อย่างไรก็ดีความเห็นดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยุติ ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้ง

3.พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ


พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้




4.พระราชกำหนด หรือรัฐกำหนด (อังกฤษ: emergency decree ใช้ได้ทั้งพระราชกำหนดและรัฐกำหนด; หรือ royal ordinance สำหรับพระราชกำหนด) เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
พระราชกำหนดไว้เรียกกฎหมายเช่นนั้นซึ่งประกาศใช้ในประเทศอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ส่วนรัฐกำหนดสำหรับประเทศอันมีประธานาธิบดีเป็นประมุข


พระราชกำหนดของไทย
สถานการณ์ที่จะประกาศใช้พระราชกำหนดได้
พระราชกำหนดของไทยแบ่งออกเป็นสองประเภทตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) ได้แก่
1. พระราชกำหนดทั่วไป ออกได้ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องปัดพิบัติสาธารณะ
2. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ออกได้ในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งต้องได้รับพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ทั้งนี้ ภายในกระบวนการตราพระราชกำหนด
พระราชกำหนดมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาร่าง และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว นายกรัฐมนตรีจึงจะนำร่างนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้บังคับเช่นพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องนำเสนอร่างพระราชกำหนด เช่นว่าให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน
] กระบวนการภายหลังการประกาศใช้พระราชกำหนด
เมื่อมีการประกาศใช้พระราชกำหนดแล้ว ในการประชุม
รัฐสภาคราวต่อไป คณะรัฐมนตรีต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยไม่ชักช้า
ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดโดยเร็ว
ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติ พระราชกำหนดดังกล่าว หรือในกรณีที่
สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติแต่วุฒิสภาไม่อนุมัติ และสภาผู้แทนราษฎรยืนยันการอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร พระราชกำหนดนั้นเป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้นแล้ว
ในระหว่างสมัยประชุม ถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วย
ภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
5.พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
การตราพระราชกฤษฎีกา
การตราพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง
เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
พระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จากนั้นจึงนำไปประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป
6.กฎกระทรวง (อังกฤษ: ministerial regulation) เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ หรือแห่งกฎหมายที่มีฐานะเสมอกัน เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด กฎกระทรวงนั้นเดิมเรียกว่า กฎเสนาบดีประวัติของกฎกระทรวง

ลำดับศักดิ์กฎหมายไทย
1.
รัฐธรรมนูญ
2.
พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชกำหนด
ประมวลกฎหมาย
3.
พระราชกฤษฎีกา
4. กฎกระทรวง
บริหารบัญญัติ
องค์การบัญญัติ
กฎใช้เฉพาะกลุ่มคน
กฎมนเทียรบาล
กฎกระทรวงนั้น เดิมเรียก "กฎเสนาบดี" ต่อมามีพระราชบัญญัติเทียบตำแหน่งรัฐมนตรีกับเสนาบดีแต่ก่อน พุทธศักราช 2475 ซึ่งมาตรา 3 ว่า "ในพระราชบัญญัติและบทกฎหมายอื่นใดซึ่งประกาศใช้อยู่ในเวลานี้ คำว่า 'เสนาบดี' ให้อ่านเป็น 'รัฐมนตรี' คำที่กล่าวถึงเสนาบดีกระทรวงใด ๆ ให้หมายความว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น ๆ และคำว่า 'กฎเสนาบดี' ให้อ่านเป็น 'กฎกระทรวง'"
สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สมัย
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กฎเสนาบดีนั้นนอกจากจะได้ตราขึ้นไว้โดยอาศัยอำนาจตามบทกฎหมายแล้ว ยังมีอันซึ่งได้ตราขึ้นไว้โดยได้รับพระบรมราชานุญาตอีกด้วย ทั้งยังปรากฏว่าครั้งที่การร่างกฎหมายยังไม่เป็นระเบียบเช่นสมัยนี้นั้น กฎเสนาบดียังได้แก่ข้อบังคับที่เสนาบดีตราขึ้นเพื่อกำหนดกิจการภายในกระทรวง เช่น ระเบียบทางธุรการ ฯลฯ อีกด้วย ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่กฎกกระทรวงจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบทกฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้น ๆ ไว้ และย่อมใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป หาใช่เป็นระเบียบการภายในซึ่งใช้บังคับเฉพาะหมู่เหล่าไม่
กฎเสนาบดีสามจำพวก
อันกฎเสนาบดีในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นอาจจำแนกได้เป็นสามจำพวก ดังต่อไปนี้
จำพวกแรก
กฎเสนาบดีที่เจ้ากระทรวงตราขึ้นเป็นกฎหมายโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายที่มีฐานะเทียบเท่า เช่น กฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลกำหนดน้ำหนักรถยนต์ที่สัญจรไปมาบนถนนหลวงในจังหวัดพระนคร ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2452
จำพวกที่สอง
ก่อน
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น มีกฎเสนาบดีซึ่งได้ตราขึ้นไว้โดยไม่มีบทกฎหมายให้อำนาจในการตรา และซึ่งกำหนดข้อความอื่นใดนอกเหนือไปจากบทกฎหมายที่ให้อำนาจในการตราไว้ก็มี กฎเสนาบดีเหล่านี้หากได้รับพระบรมราชานุญาตแล้วก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเสมอบทบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงรัฎฐาธิปัตย์ในครั้งนั้นทรงตราขึ้น เช่น
กฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463 ออกโดยอาศัยอำนาจในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 โดยปรากฏในคำปรารถแห่งกฎเสนาบดีนั้นว่า

ด้วยตามความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 123 ให้กรมการอำเภอมีหน้าที่คอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษาอย่าให้ผู้ใดเบียดเบียนที่วัดหรือที่กุศลสถานอย่างอื่นอันเป็นของกลางสำหรับมหาชนนั้น บัดนี้ ทรงพระราชดำริเห็นว่า ที่ศาลเจ้าซึ่งเป็นสถานที่เคารพและกระทำพิธีกรรมตามลัทธิของประชาชบางจำพวกในกรุงสยามนับว่าเป็นกุศลสถานสำหรับประชาชนจำพวกหนึ่ง ซึ่งสมควรจะวางระเบียบการปกปักรักษาขึ้นไว้ให้เป็นหลักฐาน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงนครบาลและเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยตั้งกฎข้อบังคับขึ้นตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457

มาตรา 5 ดังกล่าวนั้นว่า "ให้เสนาบดีผู้บัญชาการปกครองท้องที่มีอำนาจที่จะตั้งกฎข้อบังคับสำหรับจัดการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าแลกฎนั้นได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ให้ถือว่าเป็นเหมือนส่วนหนึ่งในพระราชบัญญัตินี้"
กฎเสนาบดีฉบับนี้ได้รับพระบรมราชานุญาตและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่เหตุที่มาตรา 5 นั้นบังคับว่าให้เสนาบดีมีอำนาจตรากฎเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น และมาตรา 123 ที่อ้างถึงมีความว่า ให้กรมการอำเภอมีหน้าที่กำกับดูแลและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปกปักรักษาวัดหรือกุศลสถานอย่างอื่นที่เป็นสาธารณสถาน แต่กฎเสนาบดีนี้กลับให้อำนาจอธิบดีพระนครบาลถอดถอนผู้ปกปักรักษานั้นและแต่งตั้งคนใหม่แทนได้ ซึ่งเป็นการนอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 เช่นว่า จึงเกิดปัญหาขึ้นว่า กฎเสนาบดีฉบับนี้จะมีใช้บังคับได้ทั้งฉบับหรือเฉพาะข้อความที่ต้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น
ตามคำพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 288, 289, 290, 291/2466 ศาลฎีกามีความเห็นในกรณีเป็นสองทางว่า
1) กฎเสนาบดีนั้นได้รับพระบรมราชานุญาตและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมใช้บังคับได้เสมอเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่เช่นว่านั้น
2) อันเจตนารมณ์แห่งมาตรา 5 ดังกล่าวนั้นไม่ได้หมายความว่ากฎเสนาบดีที่มีข้อความเกินเลยไปจะใช้เป็นกฎหมายได้ และการตรากฎหมายนั้นเป็นพระราชอำนาจ แต่การออกกฎเสนาบดีเป็นอำนาจของเสนาบดี ถ้ากฎเสนาบดีมีข้อควาทมนอกเหนือกฎหมายได้แล้วก็จะกลายเป็นว่ากฎเสนาบดีสามารถแก้กฎหมายของแผ่นดินได้ นอกจากนี้ การที่กฎเสนาบดีได้กำหนดอำนาจถอดถอนและแต่งตั้งผู้ปกปักรักษานั้น ไม่ได้เป็น "การกำกับดูแลและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ปกปักรักษา" ตามมาตรา 123 เลย กับทั้งกฎเสนาบดีนี้ยังมีการกำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ฝ่าฝืนอีกด้วย ซึ่งการกำหนดโทษเช่นนี้เป็นพระราชอำนาจ จึงถือว่ากฎเสนาบดีฉบับนี้ใช้บังคับไม่ได้
อย่างไรก็ดี ศาลฎีกาได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชทานมาว่า ตามธรรมเนียมประเพณีแต่ก่อนมา เมื่อพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้กฎเสนาบดีได้แล้ว ต้องนับว่ากฎเสนาบดีนั้นเป็นกฎหมาย
จำพวกที่สาม
มีกฎเสนาบดีบางฉบับซึ่งไม่มีลักษณะเป็นกฎเสนาบดีเลย เพราะไม่ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทกฎหมาย และมิได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตด้วย แต่ก็มีผลใช้บังคับ กฎเหล่านี้มีเนื้อหาเป็นการวางระเบียบเกี่ยวกับกิจการภายในกระทรวง เช่น กฎเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ฉบับที่ 1 ว่าด้วยวิธีเก็บของกลาง
สมัยประชาธิปไตย
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 กฎกระทรวงได้แก่บทบัญญัติที่กระทรวงได้ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ในกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกา แล้วแต่กรณี หากตราขึ้นโดยนอกเหนืออำนาจ (ละติน: ultra vires) เช่นว่าแล้วย่อมมีผลเป็นโมฆะ
การตรากฎกระทรวง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงผู้รักษาอำนาจตาม
พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดซึ่งให้อำนาจรัฐมนตรีกระทรวงนั้น ๆ ออกกฎกระทรวง จะเป็นผู้เสนอร่างกฎกระทรวงต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นประกาศใช้ร่างกฎกระทรวงนั้นเป็นกฎหมายได้ โดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว


7.การปกครองส่วนท้องถิ่น
นอกเหนือไปจากการปกครองส่วนภูมิภาคแล้ว ประเทศไทยยังมีการแบ่งเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหนึ่งรูปแบบ ซึ่งมีความรับผิดชอบต่อท้องถิ่นนั้นๆ แบ่งได้เป็นสองพวกใหญ่ๆคือ ท้องที่เทศบาล และ ท้องที่ตำบล
ท้องที่เทศบาล โดยทั่วไปหมายถึงท้องถิ่นที่มีความเป็นเมือง หรือมีศูนย์กลางของความเป็นเมืองอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งไม่มีความจำเป็นจะต้องเป็นท้องที่ ตามเขตการปกครองส่วนภูมิภาคแต่อย่างใด ท้องที่เทศบาลนั้น อยู่ภายใต้การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชื่อว่า เทศบาล โดยองค์กรของเทศบาล ต้องมีสภาเทศบาล และมีคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรี แล้วแต่กรณี ซึ่งเทศบาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็นสามระดับ คือ
เทศบาลนคร คือเขตท้องถิ่นชุมชนที่มีประชากรรวมกัน 50,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้อันสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล
เทศบาลเมือง คือเขตท้องถิ่นชุมชนที่เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นที่มีประชากรรวมกัน 10,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้อันสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล
เทศบาลตำบล คือเขตท้องถิ่นชุมชนที่มีประชากรรวมกัน 5,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้อันสมควรในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล หรือ เป็นสุขาภิบาลเดิมมาก่อนการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล และแม้ว่า "เทศบาลตำบล" จะมีชื่อเรียกคล้ายกันหรือชื่อเดียวกันกับ "ตำบล" แต่เทศบาลตำบลไม่จำเป็นจะต้องครอบคลุมตำบลเพียงตำบลเดียว หรือไม่จำเป็นต้องครอบคลุมตำบลตามชื่อเทศบาลนั้น เช่น เทศบาลตำบลแม่สาย ครอบคลุมบริเวณเมืองต่อเนื่องระหว่างตำบลเวียงพางคำ และตำบลแม่สาย พื้นที่นอกเหนือท้องที่เทศบาลนี้ มีฐานะเป็นท้องที่ตำบล ซึ่งต่อมายภายหลังจึงยกขึ้นเป็นเทศบาลภายหลัง
โดยท้องที่เทศบาลทั้งสามรูปแบบนี้ จำเป็นจะต้องมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเขตชุมชนนั้นๆ ขึ้นเป็นเทศบาลในแต่ละระดับชั้นด้วย ดังนั้น ในทางปฏิบัติ ท้ิองถิ่นบางแห่งอาจจะผ่านเกณฑ์ทั้งด้านประชากร และรายได้แล้ว แต่ยังมีสถานะเป็นองค์กรในระดับที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอยู่ เนื่องด้วยยัง
ไม่มีการยกฐานะ
สำหรับ เขตเทศบาลเมือง (บางแห่ง) และ เขตเทศบาลนคร จะแบ่งเขตการปกครองย่อยลงเป็น ชุมชน ซึ่งมีฐานะเท่ากับ หมู่บ้าน ในระบบการปกครองส่วนภูมิภาค โดยชุมชนจะไม่มีตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ซึ่งเป็นตำแหน่งของระบบบริหาราชการส่วนภูมิภาค และพิเศษสำหรับเขตเทศบาลนครขนาดใหญ่หลายแห่งเช่น นครเชียงใหม่ นครหาดใหญ่ และ นครนนทบุรี มีเขตการปกครองในระดับ แขวง ซึ่งเป็นการรวมชุมชนหลายๆ ชุมชนเข้าด้วยกัน โดยแขวงนี้ ไม่ได้มีอาณาเขตตามเขตตำบลแต่อย่างใด
ท้องที่ตำบล โดยทั่วไปคือส่วนท้องที่ชนบท หรือกึ่งเมือง ที่มีการกระจายตัวขอประชากรอย่างหลวมๆ แต่อาจจะมีเขตชุมชนที่มีประชากรหนาแน่นกว่าจุดอื่นๆ ในท้องที่ด้วย ในทางปฏิบัติ ท้องที่ตำบลคือท้องที่ส่วนที่เหลือจากท้องที่เทศบาล โดยจะมีอาณาเขตครอบคลุมท้องที่ตำบล ตามอย่างการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นหลัก แต่หากพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่อยู่ในเขตท้องที่เทศบาลแล้ว ก็จะอยู่นอกเหนือจากเขตพื้นที่ของท้องที่ตำบล กล่าวคือ หากมีตัวเมืองอยู่ระหว่างกลางของเขตตำบล (ส่วนภูมิภาค) ในสองตำบล ซึ่งเขตตัวเมืองนั้นได้รับการยกฐานะเป็นท้องที่เทศบาลแล้ว พื้นที่ส่วนที่เหลือที่ไม่เต็มตำบลคือท้องที่ตำบล ซึ่งจะอยู่ภายใต้การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ชื่อว่า องค์การบริหารส่วนตำบล โดยต้องมีสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บริหาร ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบล อาจไม่ได้ดูแลท้องที่ตำบลเดียว ในทางทฤษฎีอาจจะดูแลสองตำบลหรือมากกว่าก็ได้ ทั้งนี้ กฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ระบุจำนวนประชากร ในการจัดตั้งท้องที่บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้
นอกเหนือจาก เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว ยังมีองค์การปกครองอีกหนึ่งประเภท คือ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมีหน้าที่อุดหนุนท้องถิ่น (เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล) ในการดำเนินกิจการที่ท้องถิ่นไม่สามารถทำได้ โดยอาจจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ เกินขอบเขตอำนาจของท้องถิ่น หรืออาจเป็นโครงการ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของทุกท้องถิ่นในจังหวัดเดียวกัน เช่น การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เป็นต้น
สภาท้องถิ่น
สภาท้องถิ่น หรือ สภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานของฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ
ผู้บริหารท้องถิ่น ปกติ สภาท้องถิ่นจะมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในท้องถิ่นโดยตรง มีอำนาจหน้าที่หลายประการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารท้องถิ่น เป็นต้น
ในบางระบบ สภาท้องถิ่นมีอำนาจในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น แต่สำหรับในประเทศไทย การได้มาซึ่งผู้บริหารท้องถิ่น ใช้ระบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
การแบ่งเขตการปกครองอย่างไม่เป็นทางการ
กรุงเทพมหานครและจังหวัดอีก 5 จังหวัดซึ่งอยู่ติดกับกรุงเทพมหานคร หรือที่เรียกว่า "ปริมณฑล" มักเรียกรวมกันว่าเป็น
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากเขตเมืองของกรุงเทพมหานครได้ขยายมาถึงพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทยมีการจำกัดความที่แตกต่างกัน โดยการแบ่งอย่างเป็นทางการของ
ราชบัณฑิตยสถานได้แบ่งภูมิภาคของไทยออกเป็น 6 ภาค
การแบ่งเขตการปกครองในอดีต

แผนที่มณฑลเทศาภิบาล พ.ศ. 2458 โดยมีเส้นแบ่งจังหวัดในปัจจุบันประกอบ
เริ่มต้นแต่ต้นคริสตศตวรรษที่ 20 มาจนถึง พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเคยมีเขตการปกครองซึ่งเรียกว่า
มณฑลเทศาภิบาล โดยมีพื้นที่ที่ใหญ่กว่ามณฑล เรียกว่า บริเวณ จังหวัดแรก ๆ ของไทยเคยถูกเรียกว่า เมือง โดยได้มีการพัฒนามาจากนครรัฐในประวัติศาสตร์ มีทั้งเมืองซึ่งเป็นอิสระจากกรุงเทพมหานคร (หรือที่กลายมาเป็นจังหวัดในปัจจุบัน) เช่นเดียวกับเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองดูแลของเมืองใกล้เคียงที่มีอำนาจเหนือกว่า หรือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบรรณาการกึ่งเอกราช ในปี ค.ศ. 1906 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงคำว่า "เมือง" ไปเป็น "จังหวัด" ก่อนที่จะแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1916หลังจากการยกเลิกมณฑล เขตการปกครองใหม่ที่ใช้แทนเรียกว่า ภาค ได้รับการจัดตั้งขึ้น ในตอนแรก ประเทศไทยได้แบ่งออกเป็น 4 ภาค โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงร่าง ในปี ค.ศ. 1951 ได้เพิ่มเป็น 9 ภาค และในปี ค.ศ. 1956 การแบ่งเขตการปกครองแบบนี้ก็ได้ถูกยกเลิกเช่นเดียวกัน
ในอดีต เทศบาลเคยถูกเรียกว่า
สุขาภิบาล ซึ่งส่วนใหญ่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านสุขาภิบาล เช่น การกำจัดของเสีย สุขาภิบาลถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1898 และได้ถูกยกระดับเป็นเทศบาลตำบลทั้งหมดเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542
จนกระทั่ง พ.ศ. 2550
กิ่งอำเภอถือว่าเป็นอำเภอประเภทพิเศษ ซึ่งบางส่วนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอีกอำเภอหนึ่ง โดยปกติแล้ว กิ่งอำเภอซึ่งได้รับการจัดตั้งใหม่มักจะได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นอำเภออย่างสมบูรณ์ภายในเวลาไม่กี่ปี เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กิ่งอำเภอ 81 แห่งได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นอำเภอโดยสมบูรณ์ ถึงแม้ว่ากิ่งอำเภอหลายแห่งจะยังไม่ถึงเกณฑ์ของอำเภออย่างสมบูรณ์ในเวลานั้นก็ตาม

กฎหมาย

ความหมาย
รัรนยงบ่วบย้วเวเด้วเเ